วันศุกร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ชั่วโมงที่ ๑

คำควบกล้ำ หมายถึง
คำที่มีพยัญชนะต้น ๒ ตัว เรียงกัน ประสมสระเดียวกัน พยัญชนะที่ควบหรือกล้ำกับตัว ร ล ว เมื่อควบหรือกล้ำกันแล้วจะทำหน้าที่เป็นพยัญชนะต้น ออกเสียงพยัญชนะตัวหน้าควบกับ ร ล ว เป็นเสียงควบกล้ำ (อ่านออกเสียงพยัญชนะต้น ๒ ตัวพร้อมกัน) เรียกว่า อักษรควบแท้ เช่น กราบ ขลุ่ย ความ ฯ
นอกจากลักษณะของคำข้างต้น ยังมีคำที่มีพยัญชนะต้น ๒ ตัวเรียงกัน ประสมสระเดียวกัน พยัญชนะที่ควบหรือกล้ำกับ ร ออกเสียงเฉพาะพยัญชนะต้นตัวหน้าเพียงตัวเดียวไม่ออกเสียง ร ด้วย ไม่มีเสียงควบกล้ำ หรือ ทร อ่านออกเสียงเป็น ซ เราเรียกว่า อักษรควบไม่แท้ เช่น จริง สระ ทราบ ฯลฯ



เรามาดูวีดีโอเกี่ยวกับคำควบกล้ำกันเถอะ!

หลังจากที่นักเรียนได้เรียนรู้บทเรียนกันแล้ว
เรามาทำแบบฝึกทักษะกันหน่อยนะ


ชั่วโมงที่่ ๒

วันนี้เรามาลองอ่านคำควบกล้ำกันนะ...

ชั่วโมงที่ ๓

เมื่อพอรู้เรื่องคำควบกล้ำกันมาบ้างแล้ว
คราวนี้ลองอ่านคำควบกล้ำแบบเป็นประโยคกันดูบ้างนะ...


-ครูคำแปลงเป่าขลุ่ยได้ไพเราะเพราะพริ้ง ใครได้ฟังจะรู้สึกเพลิดเพลิน
-คุณยายแพรประพรมน้ำพระพุทธมนต์ก่อนกราบพระในเวลากลางคืน
-ภาคกลางของประเทศไทยมีพื้นที่เหมาะแก่การเพาะปลูกพืชผักสวนครัว
-ผมเล่นกระดานโต้คลื่นทุกครั้งที่ครอบครัวของผมไปเที่ยวที่จังหวัดกระบี่
-อากาศแปรปรวนทำให้เกิดคลื่นลมในทะเลพัดกระหน่ำอย่างแรงกว่าปรกติ
-นายพรานขังกระต่ายสีขาวไว้ในกรงเหล็กหลังกระท่อมร้างกลางไพร
-พ่อค้าปลอมแปลงสินค้าเพื่อนำไปขายปลีกอย่างไม่เกรงกลัวใคร
-คนกลับกลอกไม่มีใครอยากคบถ้าไม่รู้จักปรับปรุงตนเอง
-คนขี้ขลาดจะไม่กล้าพูดความจริง จึงทำให้ทุกคนรู้สึกเกลียดชัง
-เสียงอึกทึกครึกโครมของกลุ่มวัยรุ่นก่อความรำคาญให้ผู้ที่อยู่ใกล้เคียง

ชั่วโมงที่ ๔

วันนี้ เรามาดูวิดีโอเรื่องการออกเสียงคำควบกล้ำกันเถอะ
นักเรียนตั้งใจดูนะ ดูจบแล้วมีแบบฝึกหัดให้ทำด้วยล่ะ...


เป็นอย่างไรกันบ้าง หลังจากฟังมาดามมด ออกเสียงคำควบกล้ำแล้ว
ต่อไป เราลองมาอ่านออกเสียงคำควบกล้ำกันบ้างนะ...


ชั่วโมงที่ ๕

วันนี้เราลองมาอ่านคำควบกล้ำแบบคำประพันธ์กันบ้างนะ...




เป็นอย่างไรกันบ้าง ไม่ยากเลยใช่มั๊ยล่ะ
ถ้านักเรียนฝึกบ่อยๆ ก็จะสามารถออกเสียงคำควบกล้ำได้อย่างชัดเจนเลยล่ะนะ